“ดอกเบี้ยสูง” ยังอยู่อีกนาน กนง. มั่นใจเงินดิจิทัล 10,000 บาทช่วยเศรษฐกิจโต
กนง.มติเอกฉันท์ ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% มีผลทันที
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า โดยได้แรงหนุนจากการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และแนวโน้มที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด (Fed) จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ขณะที่เจ้าหน้าที่เฟดหลายรายยังคงออกมาสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า นักลงทุนยังคงจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือนส.ค.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ
เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
เมื่อวานนี้ (27 ก.ย.66) คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ของไทย มีมติด้วยเสียงเอกฉันท์ ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 2.50% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี โดยมองว่าดอกเบี้ยนโยบายขณะนี้เข้าสู่ระดับ Neutral rate (อัตราดอกเบี้ยที่่เหมาะสมต่อเศรษฐกิจในระยะยาว) ที่ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจให้เติบโตตามศักยภาพ ขณะที่ยังคงดูแลให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมายอย่างยั่งยืน และช่วยเสริมเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว
ขณะที่ เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติมีการขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 3,003 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 2,056 ล้านบาท
โดยมองกรอบค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในช่วง 36.60 -36.80 บาท/ดอลลาร์ แนะนำผู้นำเข้าแนะนำควรซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อปิดความเสี่ยง และผู้ส่งออกแนะนำขายเงินตราต่างประเทศที่เหนือระดับ 36.80 บาท/ดอลลาร์
กรอบค่าเงินวันนี้
USD/THB 36.55 – 36.85คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
EUR/THB 38.25 – 38.75
JPY/THB 0.2425 – 0.2465
GBP/THB 44.20 – 44.70
AUD/THB 23.10 – 23.40
ด้านนักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า แนวโน้มของค่าเงินบาทมองว่า หลังจากที่เงินบาทได้อ่อนค่าทะลุแนวต้านสำคัญที่ประเมินไว้ 36.50 บาทต่อดอลลาร์ แม้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยสู่ระดับ 2.50% สวนทางกับที่ผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่คาด แต่ก็ไม่สามารถช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาท
ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ยังคงกดดันค่าเงินบาท คือ การแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ และแรงขายสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะในฝั่งตลาดบอนด์ที่อาจยังคงดำเนินต่อไปได้บ้าง หลังบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นต่อทำจุดสูงสุดใหม่
ทั้งนี้ เงินบาทอาจพอได้แรงหนุนอยู่บ้างและการอ่อนค่าอาจชะลอลงได้ หากนักลงทุนต่างชาติทยอยเข้าซื้อหุ้นไทยมากขึ้น หลังล่าสุด ดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET) ได้ปรับตัวลงมาสู่โซนแนวรับสำคัญ และใกล้กับช่วงที่ความเสี่ยงการเมืองไทยร้อนแรง ทำให้มองว่า ณ ปัจจุบัน ความเสี่ยงการเมืองได้ลดลงไปมาก อีกทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจไทยก็ยังคงสดใสอยู่ กอปรกับระดับราคา (valuation) ของหุ้นไทยก็ไม่แพง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวก็ควรหนุนให้นักลงทุนต่างชาติทยอยเข้าสะสมหุ้นไทยในจังหวะย่อตัวได้เช่นกัน
เปิดประวัติ "พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล" ผบ.ตร.คนที่ 14
โปรแกรมการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ 2022 ของนักกีฬาไทย วันที่ 28 ก.ย. 66
เปิดปฏิทินวันหยุดตุลาคม 2566 เช็กวันหยุดราชการ-วันสำคัญ