ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องจับตาดูกันอย่างต่อเนื่อง สำหรับการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากของพรรคก้าวไกล รวมทั้งารผลักดัน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคดดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย ยังคงมีเรื่องที่ต้องฝ่าฟันอีกหลายด่าน โดยเฉพาะบรรดาเรื่องร้องเรียนหลายเรื่องที่ยังค้างคาอยู่ระหว่างการตรวจสอบขององค์กรอิสระต่างๆคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ไล่ตั้งแต่ กรณี นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ยื่นคำร้องต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ตรวจสอบว่า นายพิธา มีลักษณะต้องห้ามในการลงสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 ( 3 ) หรือไม่ เนื่องจากมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) 42,000 หุ้น และเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจสื่อ
นอกจากนั้น นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ยังมีการยื่นคำร้องต่อสำนักงาน กกต. เพิ่มเติม เพื่อขอให้ตรวจสอบ ว่า นายพิธา จะเข้าข่ายต้องพ้นจากสมาชิกพรรคก้าวไกล และหัวหน้าพรรค ตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 24 เพราะเป็นผู้ถือหุ้นสื่อไอทีวี ซึ่งมีลักษณะคุณสมบัติต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา98(3) หรือไม่ อีกทั้งจะเข้าข่ายมีความผิดตาม มาตรา 112 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ของ พ.ร.บ.ดังกล่าวหรือไม่
เลือกตั้ง 2566 : “พิธา” มั่นใจพร้อมจัดตั้งรัฐบาล นัด 6 พรรคคุยตั้งรัฐบาล
เลือกตั้ง 2566 : เปิดกฎหมาย 45 ฉบับ ก้าวไกลเตรียมยื่นทันทีหลังเปิดสภา
เลือกตั้ง 2566 : "อุ๊ หฤทัย" ชี้ "ลุงตู่" ควรพอ ยอมรับเสียงข้างมาก
และยังมีกรณี นายสนธิญา สวัสดี ยื่นเรื่องร้องเรียนให้ กกต.ตรวจสอบ นายพิธา ถือครองหุ้นในบริษัทสื่อสารมวลชน อาจเข้าข่ายขัด พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง หรือไม่ และเนื่องจากนายพิธาเป็นหัวหน้าพรรคที่ต้องรับรองคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส.พรรคก้าวไกล แต่เมื่อขาดคุณสมบัติเสียเอง จะส่งผลทำให้การรับรองคุณสมบัติของผู้สมัครพรรคก้าวไกลทุกคนเป็นโมฆะหรือไม่
กรณี นายศรีสุวรรณ จรรยา ยื่นคำร้องต่อ กกต.ให้ดำเนินการไต่สวน สอบสวน และวินิจฉัย นายพิธา กรณีเคยให้สัมภาษณ์อ้างว่ากลับมาเมืองไทยช่วงรัฐประหารปี 2549 และถูกควบคุมตัว จนไปงานศพพ่อไม่ทัน รวมทั้งการถูกควบคุมการเงินจนไม่มีเงินทำศพพ่อ อาจเป็นการจูงใจให้เข้าใจผิด ในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมืองอีกด้วยหรือไม่ ตามมาตรา 73(5) แห่ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. 2561 หรือไม่ ซึ่งหากผิดจริงต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปี ถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของผู้นั้นมีกําหนดยี่สิบปีอีกด้วย
กรณี นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ยื่นคำร้องต่อกกต.ขอให้ตรวจสอบ นายพิธา กรณีการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ การเดินทางกลับมาจากอเมริกาเพื่อมาร่วมงานศพของบิดาในช่วงที่มีการรัฐประหาร 2549 ว่าเป็นการให้ข้อเท็จจริงหรือไม่ เนื่องจากการให้สัมภาษณ์ในรายการของสื่อมวลชน 2 ครั้งไม่ตรงกัน เข้าข่ายการหาเสียงด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือไม่
นอกจากนั้น ยังมีกรณี นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริจแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เพื่อขอให้ตรวจสอบว่าบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินของนายพิธากับคู่สมรส ในหลายประเด็นที่น่าสงสัย อาทิ กรณีนายพิธา แจ้งว่ามีคู่สมรส และคู่สมรสเป็นเจ้าของบริษัท เลอ-บลองค์ จำกัด และนายพิธา เคยถือหุ้น เคยร่วมก่อตั้งและลงลายมือชื่อไว้ด้วย แต่นายพิธากลับไม่แสดงรายได้ รายจ่าย หรือหุ้น ของคู่สมรสต่อ ป.ป.ช. อาจเป็นการปกปิดบัญชีเงินลงทุนของคู่สมรสหรือไม่
หรือกรณีนายพิธาได้นำอาคารของน้องชายมูลค่า 15,000,000 บาท มาแสดงในบัญชีทรัพย์สินของตนเอง หรือกรณีนายพิธาแจ้งที่ดินรายการหนึ่งว่า เป็นที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทั้งที่ไม่น่าจะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวได้ อาจเข้าข่ายแจ้งข้อความโดยไม่ตรงความจริงหรือไม่ รวมทั้งกรณีนายพิธาไม่ได้แจ้งมูลค่าที่ดินและบ้านของคู่สมรสไว้แต่อย่างใด จึงขอให้ตรวจสอบว่าบัญชีทรัพย์สินรวมของคู่สมรสนายพิธาแสดงไว้ต่ำกว่าความเป็นจริงหรือไม่